29thMarch

29thMarch

29thMarch

 

April 04,2021

มทร.เหลียวหลังแลหน้า เพื่ออนาคตอีสาน นายกสภา มทร.อีสาน แนะปรับตัวตามกระแสโลกที่ปรับเปลี่ยน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จัดโครงการ Retreat มทร.อีสาน 2564 : เหลียวหลังแลหน้า เพื่ออนาคตอีสาน เพื่อศึกษาความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับใช้และการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการเพื่อก่อให้เกิดรายได้ การบูรณาการ การเรียนการสอนให้ผู้บริหารและบุคลากรนำความรู้ด้าน Smart Agriculture Technology  ไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนด้านการเกษตร และร่วมกันพิจารณาทบทวนผลการดำเนินงาน ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) พิจารณาการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ประจำปี 2564 และการจัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (พ.ศ.2565-2569)  โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยฯ ผู้บริหาร และบุคลากร รวมทั้งสิ้น 190 คน ระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน 2564 ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา จังหวัดชลบุรี


ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และประธาน ทปนอ.มทร. กล่าวบรรยายพิเศษ “อนาคตของมหาวิทยาลัยไทย” ใจความว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องปรับตัวให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก ทั้งการปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การสร้างหลักสูตรใหม่ หลักสูตรระยะสั้น การปรับปรุง ส่งเสริมทักษะของผู้เรียน ให้สามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้  เพราะขณะนี้บริษัทใหญ่ ๆ ภาคเอกชน ได้มีการปรับแผนธุรกิจให้สอดรับกับความต้องการกำลังคนไปแล้ว ซึ่งสิ่งเหลานี้คือเป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย


จากความเปลี่ยนแปลงของโลกในขณะนี้กลายเป็นโลกที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน สลับซับซ้อน คลุมเครือ และมีเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามา คนเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจเกิดการเติบโต เกิดสงครามการค้า การลงทุน และเมื่อโควิด-19เข้ามา สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่และเกิดความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นด้วย  รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจและเทคโนโลยีโลกของเรา ที่มหาวิทยาลัยยิ่งต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจและเข้าให้ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มทร.อีสาน เองต้องเรียนรู้เรื่องของอาเซียนด้วย ทั้งการแบ่งเขตอาเซียน การตกลงเขตการค้าเสรีภูมิภาคนั้นที่ก่อให้มีการเกิดเขตการค้าเสรีแปซิฟิก เกิดการลงทุนเพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ และเกิดความร่วมมือเพื่อเสถียรภาพทางการเงินใหม่  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในหลายประเทศนำมาประมวลให้เกิดเป็นแผนยุทธศาสตร์ จนเกิดความร่วมมือระหว่างชาติต่าง ๆ มากขึ้น ส่วน มทร.อีสาน นั้นนอกจากเข้าถึงจุดยืนในประเทศไทยแล้ว ต้องเข้าถึงได้ในภาคอาเซียนด้วย เช่น มทร.อีสาน เข้าถึงทั้งไมโครซอฟ และหัวเว่ย นั่นคือการที่เราเลือกใช้ประโยชน์จากส่วนดีของทั้งสองฝ่าย และนำส่วนที่เสียมาปรับให้เราสามารถเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้


ด้าน ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย ราชบัณฑิต และผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าเราอยู่ในยุคที่กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกเกิดอย่างรวดเร็วและไร้ขอบเขต เพียง 20 ปีที่ผ่านมา โลกเปลี่ยนไวกว่า 1,000 ปีที่ผ่านมารวมกัน การที่เราจะผลิตบัณฑิตเพื่ออนาคต เราต้องรู้ว่าอนาคตเป็นอย่างไร  ประชากรล้นโลก หรือการย้ายถิ่นมากขึ้น สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ความเหลื่อมล้ำในสังคมที่สูงขึ้น สังคมผู้สูงวัยเพิ่มมากขึ้นแต่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย ช่องว่างระหว่างวัยเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น  การสื่อสารกลายเป็นช่องทางหลัก แต่การศึกษากลับมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างช้า การจะดูอนาคตต้องดูแนวโน้มว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร และมหาวิทยาลัยต้องเตรียมบัณฑิตให้พร้อมเท่าทันการเปลี่ยนแปลงนั้น  ซึ่งโกลบอลเมกะเทรนด์ นั้นเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ แต่จะเป็นสิ่งที่เราสามารถรับรู้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ส่วน Tech disruption trend เราไม่รู้ว่าอะไรจะมาบ้างในอนาคต เพราะเป็นคลื่นเทคโนโลยีลูกใหม่  ซึ่งมาแทนเทคโนโลยีลูกเก่า และเรียกว่าเป็นการปฏิวัติ ไม่ว่าจะเป็นปฏิวัติเกษตร ปฏิวัติอุตสาหกรรม  ฯลฯ และปัจจุบันคือการปฏิวัติดิจิทัล ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น เครื่องพิมพ์ดีดเปลี่ยนเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์รุ่นเก่าเป็นสมาร์ทโฟน รวมถึงความนิยมซื้อขายผ่านออนไลน์ แต่ในส่วนการศึกษาจะเห็นว่าเรายังใช้วิธีการเรียนรู้แบบเดิมเพียงแต่นำเครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมเท่านั้น ด้วยขบวนการ 5 ขั้นตอน คือ 1 .อะไรก็ตามที่ใช้ได้ คือ ถูกกว่า ส่งไปไหนก็ได้ ความถี่สำเนาไม่เสียเงิน  2. อุปกรณ์บนโต๊ะทำงานเปลี่ยนไป 3. เมื่อเราใช้วัสดุน้อยลง เราก็เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง 4. เมื่อเทคโนโลยีออกมา ก็เข้าถึงผู้คนได้มากมาย 5.การใช้ชีวิตปกติยังคงอยู่ เพียงแต่บางส่วนของชีวิตมีเทคโนโลยีเข้ามา  ฉะนั้นภาคการศึกษาเราจะต้อง Disruption ตัวเอง เพราะบัณฑิตส่วนใหญ่ยังไม่ตรงกับความต้องการของตลาด หรือสิ่งที่เรียนมากลับนำมาใช้ในการทำงานไม่ได้  เราจะต้องเตรียมบัณฑิตให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง มีความรู้ทักษะฝีมือและวิธีการปรับตัวในการทำงาน มีความรู้พื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการต่อยอดในอาชีพ โดยมีทักษะสำหรับโลกศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะในการให้ความร่วมมือ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะด้านการสร้างสรรค์นวัตกกรรม ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะเชิงตัวเลข และทักษะในการแก้ไขปัญหา หากเราสามารถสร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะครบถ้วน


ตามที่กล่าวมาได้  นั่นคือมหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จในการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในมุมมองของผู้ประกอบการที่มีความทันสมัยที่สุดของประเทศไทย คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า เพราะการเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง  ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายบนโลกออนไลน์  การศึกษาออนไลน์เข้ามาอยู่ในโลกนี้เป็นปกติแล้ว ทำให้อาจารย์เก่ง ๆ ได้สอนนักเรียนจากทั่วโลกผ่านสื่อออนไลน์ เป็นการพลิกโฉมการเรียนที่ยิ่งใหญ่  คนที่มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงความรู้ใหม่ ๆ ได้  แค่เข้าถึงโลกออนไลน์ก็มีสิทธิ์ได้เรียน ได้พัฒนาตนเอง โลกนี้จะเกิดคนเก่งขึ้นอีกมากมาย มหาวิทยาลัยต้องตั้งหน่วยงานสนับสนุนนักศึกษาด้าน Start up โดยนักศึกษาต้องเรียนและทำงานควบคู่กันไปด้วย จึงจะเกิดความเชี่ยวชาญในงาน ซึ่งสำคัญมากกว่าการเรียนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว เมื่อเรียนจบแล้วสามารถทำงานได้จริงตรงตามที่สถานประกอบการต้องการ เหมือนเช่น ศูนย์การศึกษา CP โรงเรียนปัญญาภิวัฒน์  เป็นต้น


ภายหลังโควิด-19 ควบคุมได้ ผมเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะกลับมาเฟื่องฟู มีชีวิตชีวาอีกครั้ง แต่ต้องท่องเที่ยวอย่างควบคุมความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โรงแรมต้องปรับตัวเพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยว โรคอาจจะกลายพันธุ์มากขึ้นต้องป้องกันมากขึ้น ร้านอาหารภัตตาคารต้องปลอดภัยมาก ส่วนคนจะหันมาทำงานที่บ้าน ไม่ต้องมีออฟฟิศ สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ และเศรษฐกิจของประเทศไทยก็จะดีขึ้น รวมถึงการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ AI ก็จะเริ่มมีบทบาทในชีวิตคนมากขึ้นด้วยครับ


ในส่วนของ ดร.กิตติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เปิดเผยว่า วิถีชีวิตใหม่ หรือที่เรียกกันว่า นิวนอร์มอล (New Normal) ทำให้เทคโนโลยีดิจิทัลเติบโตมาก คนจะหันมาทำงานจากที่บ้าน ผ่านระบบอีคอมเมิร์ชและรับข่าวสารและความบันเทิงผ่านสื่อออนไลน์ มีการใช้พลังงานทดแทน หุ่นยนต์ เมกะโปรเจค สิ่งที่ย้อนกลับมาคือ การลดความยากจน และเข้าสู่โลกยุคโลกาภิวัฒน์ ภายหลังโควิด-19จะเกิดอัตราการว่างงาน มีผลต่ออัตราการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ SMEs ความสามารถในการใช้หนี้ลดลง และเกิดการเลิกจ้างระลอกใหม่ โดยมีอัตราการว่างงานสูงถึง 2.5 ล้านคน ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนชะลอตัวลง เพราะมีหนี้สะสมมาก รวมถึงรัฐบาลมีข้อจำกัดด้านงบประมาณมากขึ้น ในส่วนแนวโน้มของภาคเกษตร พบว่า จะมีจำนวนแรงงานลดลง และด้วยภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง จึงมีการหันมาใช้เทคโนโลยีสมาร์ทฟาร์ม และการใช้พลังงานทดแทนในทุกภาคส่วน นำไปสู่การปรับตัวสู่ตลาดเกษตรกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและต้องผลิตให้ทันต่อความต้องการของตลาดครับ


ส่วนภาคการศึกษา ถือว่าอาจารย์มีความสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพ E-learning จากการศึกษาการเรียนผ่านสื่อออนไลน์ 15 ชั่วโมง พบว่า ไม่ควรปล่อยให้เขาเรียนออนไลน์ด้วยตนเอง แต่ผู้สอนต้องมีเทคนิคในการสอนและการติดตามการเรียนในชั่วโมงนั้น ๆ ซึ่งปลายทางในการวัดความสำเร็จของการศึกษาในอนาคต จะวัดที่ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต ความก้าวหน้าในอาชีพ การเพิ่มขึ้นของรายได้โดยมีการติดตามและรายงานผลสม่ำเสมอ


977 1602