28thMarch

28thMarch

28thMarch

 

July 02,2021

“ยิ่งใช้ยิ่งได้” แผ่ว ถึงเวลาแก้เกมกระตุ้นกำลังซื้อ

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาออกมาตรการลดภาระค่าครองชีพ และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-๑๙ มีทั้งหมด ๔ โครงการ ครอบคลุมประชาชน ๕๑ ล้านคน

โดย ๑ คน สามารถเข้าร่วมได้ ๑ โครงการ

ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ โครงการคนละครึ่ง เฟส ๓ ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก ก่อนหน้านี้เฟส ๑ และ ๒ มีผู้ลงทะเบียนรวมกัน ๑๕ ล้านคน มคราวนี้เปิดให้ลงทะเบียนจำนวน ๓๑ ล้านสิทธิ วงเงินรวม ๙๓,๐๐๐ ล้านบาท 

แม้จะมีผู้ลงทะเบียนไม่ครบ ๓๑ ล้านคน แต่การเปิดลงทะเบียนเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ จำนวน ๒๓,๖๙๑,๒๗๗ คน แล้วค่อยๆ ขยับมาถึงประมาณ ๒๘ ล้านคน ก็ถือว่ามีผู้สนใจ

โครงการนี้ล้นหลามแล้ว

โครงการนี้คงไม่ต้องอธิบายอะไรเยอะ คนที่ใช้เป็นก็บอกต่อกันได้ แต่หลักๆ ก็คือ รัฐบาลจะโอนวงเงินคนละครึ่ง ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑,๕๐๐บาท ในวันที่ ๑ กรกฎาคม และ ๑ ตุลาคม๒๕๖๔ รวม ๓,๐๐๐ บาทตลอดโครงการ

ร้านไหนที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง เติมเงินลงใน G-Wallet ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”แล้วใช้จ่ายแทนเงินสด จะปรากฏส่วนลด ๕๐%ทันที สูงสุด ๑๕๐ บาทต่อวัน ถ้าวันไหนใช้ไม่หมด ๑๕๐ บาท เก็บไว้ใช้วันต่อไปได้ ถึง ๓๑ธันวาคม ๒๕๖๔

แต่ที่กำลังน่าเป็นห่วงก็คือ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ที่ให้สะสมยอดใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน“เป๋าตัง” ผ่านร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้วจะได้รับบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voucher) ตั้งแต่ ๑๐-๑๕% สูงสุด ๗,๐๐๐ บาท

โครงการนี้มีทั้งหมด ๔ ล้านสิทธิ วงเงินรวม๒๘,๐๐๐ ล้านบาท เจาะกลุ่มเป้าหมายผู้มีกำลังซื้อ ซึ่งสำรวจแล้วมีประมาณ ๖ ล้านคน หวังจะให้คนที่มีเงินเก็บไว้ ไม่เอาออกมาใช้ ให้เอาเงินออกมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจบ้าง

แต่เอาเข้าจริงกลับกร่อยกว่าที่คิด หลังเปิดให้ลงทะเบียนวันแรก ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ พบว่ามีผู้สนใจแค่ ๒๗๑,๔๔๖ ราย ก่อนยอดลงทะเบียนจะเพิ่มขึ้นในอีก ๒-๓ วันถัดมาเป็น ๔ แสนกว่ารายห่างไกลจากเป้าหมาย ๔ ล้านคน

สาเหตุหนึ่งมาจากประชาชน เลือกเข้าร่ วมโครงการคนละครึ่ง เพราะ “เห็นผล”มากกว่า ขณะที่ยิ่งใช้ยิ่งได้ มีข้อจำกัด “หยุมหยิมเกินไป” หลายอย่าง และไม่สะท้อนความเป็นจริงของนักช้อป

เช่น ยอดซื้อที่นำมาคำนวณ e-Voucher กาหนดให้ ไม่ เกินวันละ ๕,๐๐๐ บาท คน ที่ช้อปปิ้งวันหนึ่งเป็นหมื่นบาทก็เสียประโยชน์ เพราะส่วนเกินจาก ๕,๐๐๐ บาท ไม่ถูกนำมาคำนวณห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ก็กระตุ้นยอดขายสินค้าราคาสูงไม่ได้

ความหยุมหยิมอีกอย่างหนึ่ง คือ สะสมยอดซื้อได้เพียง ๓ เดือน ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคมถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ โดยนับยอดซื้อทั้งเดือนแล้วได้รับ e-Voucher ในวันที่ ๗ ของเดือนถัดไปจำกัดยอดซื้อสูงสุด ๖๐,๐๐๐ บาทตลอดโครงการ

อีกทั้ง e-Voucher ที่ได้ ๑๐-๑๕% ถือว่าน้อยมาก ยอดซื้อไม่ถึง ๔๐,๐๐๐ บาทได้เพียงแค่ ๑๐% ถ้าต้องการมากกว่านี้ ต้องมียอดซื้อสะสมมากกว่า ๔๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ถึงจะได้รับเพิ่มเป็น ๑๕% สะสมสูงสุด ๗,๐๐๐ บาท

โดยปกติบรรดานักช้อปกระเป๋าหนักจริงๆ ไม่นิยมชำระด้วยเงินสด แต่นิยมใช้บัตรเครดิตมากกว่า เพราะมีโปรโมชันส่วนลดหรือเครดิตเงินคืน มีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย ๔๕-๕๐ วันถ้าจ่ายเต็มจำนวนไม่เสียดอกเบี้ย แถมได้คะแนนสะสมอีก

จึงไม่นิยมนำเงินเก็บหรือเงินออมออกมาใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้า เพราะการใช้เงินสดซื้อของได้ส่วนลดน้อยกว่า เมื่อเทียบกับบัตรเครดิต และยิ่งถ้าเป็นบัตรเครดิตในห้างฯ ก็จะได้ใช้ที่จอดรถพิเศษห้องรับรองวีไอพี และบริการพิเศษอีก

กุลยา ตันติเตมิท โฆษกกระทรวงการคลังระบุว่า หากมีคนลงทะเบียนโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และคนละครึ่งเฟส ๓ ไม่ครบตามเป้าหมายที่กำหนด กระทรวงการคลังจะคืนวงเงินที่เคยขอไว้กลับเข้าไปในวงเงิน พ.ร.ก.กู้เงิน ๑ ล้านล้านบาท

โดยหากยอดลงทะ เบียนเริ่มชะลอตัวลงมากๆ ในแต่ละวัน จะพิจารณาปิดการลงทะเบียนแต่โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ อาจจะต้องรอเปิดให้ใช้จ่ายเกิดขึ้นในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เพราะบางคนอาจจะไม่รู้ว่า มีร้านค้าใดที่เข้าร่วมโครงการบ้าง

ปัญหาก็คือ คน ที่ลงทะเบียนโครงการคนละครึ่ง เฟส ๓ ไปแล้ว หากสมมติพบว่าโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีเงื่อนไขที่ดีกว่าก็ไม่สามารถเป ลี่ยนใจได้ เพราะปิดให้เปลี่ยนแปลงโครงการเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ วันที่เขียน ต้นฉบับ

ดูเหมือนว่ากระทรวงการคลังกลับหลงทาง เร่งประชาสัมพันธ์ให้ร้านค้าเข้าร่วมโครงการมา กขึ้น ทั้งที่ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าชั้นนำเข้าร่ว มโครงการอยู่แล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่เงื่อนไขโคร งการไม่สอดคล้องควา มเป็นจริง

ถ้าโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใหม่ เช่น ปลดล็อกยอดซื้อที่นำมาคำนวณ e-Voucher จากเดิมจำกัดเพียงแค่ ๕,๐๐๐ บาทต่อวันออกไป คงจะมีคนสนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น แต่ก็คงไม่มากไปกว่านี้ เพราะผลตอบแทนน้อยเหลือเกิน

มาถึงผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าดูเหมือนว่าไม่ค่อยแฮปปี้กับโครงการยิ่งใช้ยิ่งไดี้่ ทออกมาเท่าที่ควรถึงขนาดทางห้างฯ ต้องมาผลักดันโปรโมชั่นเป็นของตัวเอง โดยไม่จำกัดเฉพาะผู้เข้าร่วมโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้เท่านั้น

ตัวอย่างเช่น ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จัดโครงการช้ อปช่ วยไทยตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ถึง ๒๘ กรกฎาคม๒๕๖๔ พบว่า เมื่อช้อปครบตามกำหนด ไม่จำกัดช่องทางไหน รับ M CASH COUPON สูงสุดถึง ๗,๐๐๐ บาท

ขณะที่ ศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ใช้จ่ายตามโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ครบทุก๔,๐๐๐ บาท รับบัตรกำนัลศูนย์การค้า ๑๐๐ บาทรวม ๒ สิทธิต่อคนตลอดรายการ และเมื่อสะสมยอดซื้อสูงสุด ๔๐ คนแรก รับแผ่นทองคำ ๑ สลึง

ศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์สยามดิสคัฟเวอรี ไอคอนสยาม ใช้จ่ายโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ครบทุก ๕,๐๐๐ บาท รับบัตร SiamGift Card ๕๐๐ บาท (สำหรับซื้อสินค้า ๑,๐๐๐ บาทต่อใบเสร็จ) รวม ๒ สิทธิต่อคนตลอดรายการ

นอกนั้นจะมีแค่ประชาสัมพันธ์ว่า ห้างสรรพสินค้านี้ หรือร้านค้านี้เข้าร่วมโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ใช้จ่ายผ่าน G-Wallet บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” อาจจะจัดโปรโมชันรวมกับบัตร สมาชิกห้างฯ หรือบัตรเครดิตธนาคารชั้นนำ

ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มทุนค้าปลีกอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ในปี ๒๕๖๓ มีรายได้ลดลงกว่า ๓๓,๐๐๐ ล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากได้รับผลกระทบจากโครงการคนละครึ่ง เพราะลูกค้าเข้ามาใช้บริการน้อยลง เฉลี่ยเหลือเพียงไม่ถึง ๑,๐๐๐ คน

ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นจะออกมาแก้เกมด้วยการจัดโปรโมชั่นสารพัด เช่น ลดอย่างแรง!, ร่วมด้วยช่วยค่าครองชีพ รวมทั้งพัฒนาสินค้าโดยใช้ชื่อว่า อิ่มคุ้ม เปิดบริการ 7-Eleven Delivery และ All Online ห้างใกล้บ้าน

ล่าสุด ร่วมกับธุรกิจในกลุ่ม ประกอบด้วยร้านกาแฟออลล์ คาเฟ่, ร้านเบลลินี่ เบค แอนด์ บรู, ร้านกาแฟคัดสรร ร้านยาเพื่อชุมชนเอ็กซ์ต้า พลัส เข้าร่วมโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ถึงผู้เข้าร่วมโครงการจะน้อยกว่าเป้าหมายก็ตาม

ส่วนผู้บริโภคที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง หันมาใช้จ่ายตามร้านโชวห่วย ร้านธงฟ้า รวมทั้งตลาดสด ร้านอาหาร สตรีทฟู้ด หลังปิดโครงการ พบว่ามีผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น ๑๔,๗๙๓,๕๐๒ คน มียอดการใช้จ่าย ๑๐๒,๐๖๕ ล้านบาท

แบ่งเป็นประชาชนจ่าย ๕๒,๒๕๑ ล้านบาท และภาครัฐร่วมจ่ายอีก ๔๙,๘๑๔ ล้านบาท จังหวัดที่มีการใช้จ่ายสะสมมากที่สุด ๕ อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี สมุทรปราการ สงขลาและเชียงใหม่

น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ ห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าท้องถิ่น ที่ศักยภาพแข็งแกร่งน้อยกว่ากลุ่มทุนยักษ์ แม้ว่าบางแห่งจะรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีประมาณ ๑๓.๖๕ ล้านคนก็ตาม แต่วงเงินที่ได้รับก็ไม่ได้เยอะมาก ๒๐๐-๓๐๐ บาทต่อเดือน

ขณะที่ผ่านมา รัฐบาลช่วยเหลือมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่า (ซอฟต์โลน) เฉพาะลูกหนี้รายย่อย ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน ๑๐๐ ล้านบาท จะได้รับการเข้าถึงสินเชื่อแบบพอไปได้เท่านั้น ถ้าเป็นลูกหนี้รายใหญ่จะไม่ได้รับการช่วยเหลือ

ครึ่งปีหลังนับจากนี้ ต่อให้ห้างร้านเข้าร่วมโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ก็ตาม อาจต้องปรับตัวหรืองัดกลยุทธ์การขายให้เข้ากับบรรยากาศที่ผู้คนยังคงระวังในการใช้จ่าย หันไปพึ่งพาโครงการคนละครี่งจากร้านค้ารายย่อยให้ได้

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๒๖๘๕ วันพุธที่ ๓๐ มิถุนายน - วันอังคารที่ ๖ กรกฏาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔


982 1616