19thApril

19thApril

19thApril

 

January 15,2022

บูรณาการร่วมใจแก้จนคนโคราช ประกาศเป็นวาระเร่งด่วน

ตามที่มีการประชุมกรมการจังหวัดนครราชสีมาและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันพุธที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ เทอร์มินอล ฮอลล์ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล ๒๑ โคราช ซึ่งมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธาน โดยมีการประกาศวาระจังหวัดนครราชสีมา การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “ร่วมใจแก้จน คนโคราช” ซึ่งนางอรุณรัตน์ ชิงชนะ พัฒนาการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ และคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดนครราชสีมา (คจพ.จ.นม.) ร่วมเป็นสักขีพยานในการแสดงเจตนารมณ์บูรณาการ “ร่วมใจแก้จน คนโคราช” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ผู้ว่าฯ วิเชียร ช่วยได้” แจ้งสายด่วน ๑๓๐๐ เพื่อให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม ประชาชนพ้นจากความยากจนและมีความสุขได้อย่างยั่งยืน นำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

ทั้งนี้ จังหวัดนครราชสีมามีการจัดตั้งศูนย์อำนวการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีหน่วยงานหลักและหน่วยงานร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจนในมิติต่างๆ ได้แก่ มิติสุขภาพ มิติความเป็นอยู่ มิติการศึกษา มิติรายได้ มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ และมิติปัญหาอื่นๆ ภายใต้ ๔ แนวทางการขับเคลื่อน ประกอบด้วย ๑) เติมเต็มข้อมูลในระบบ TPMAP ๒) ร่วมแก้ไขปัญหาในระดับบุคคล/ครัวเรือน ค้นหาเป้าหมายวิกฤต ๓) ร่วมแก้ไขปัญหาคนทุกช่วงวัย โดยการกำหนดเป็นมาตรการ ๔) ร่วมติด ตามตรวจสอบ ประเมินผล ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน

อนึ่ง จังหวัดนครราชสีมา มีข้อมูลครัวเรือนยากจนเป้าหมาย TPMAP จากปี ๒๕๖๒ ใน ๓๒ อำเภอ ที่ต้องดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ จำนวนทั้งสิ้น ๒๐,๗๕๕ ครัวเรือน รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลครัวเรือนตกหล่นเพิ่มเติมในปี ๒๕๖๔ ดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับอำเภอ (ศจพ.อ.) ร่วมกับทีมปฏิบัติการในระดับพื้นที่ใน ๓๓๓ ตำบล/อปท. เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดแผนงาน แนวทางในการแก้ไขปัญหาเป็นลำดับต่อไป

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๗ ฉบับที่ ๒๗๑๐ วันพุธที่ ๑๒ - วันอังคารที่ ๑๘ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๕


710 1346