19thApril

19thApril

19thApril

 

October 30,2014

‘แคท’หนุนโทรคมเมียนมาร์ ชูโครงข่าย ๓ จุดเชื่อมต่อ ยกระดับเศรษฐกิจการค้า

   บมจ.กสท โทรคมนาคม พร้อมยกระดับความร่วมมือและส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าไทย-เมียนมาร์ ชูโครงข่าย ๓ จุดเชื่อมต่อ รองรับธุรกิจสื่อสารไอทีขยายตัวต่อเนื่อง ๑๐ ปี พร้อมรุกให้บริการไอทีหนุนธุรกิจข้ามชาติ เชื่อมเมียนมาร์สู่ทุกประเทศอินโดจีนและทั่วโลก มั่นใจรองรับธุรกิจสื่อสารไอทีขยายตัวต่อเนื่อง ๑๐ ปี

    ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์

    ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดและการขาย บมจ.กสท โทรคมนาคม (CAT) เปิดเผยว่า “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ โดยเฉพาะด้านโครงข่ายโทรคมนาคมจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจ รองรับการลงทุนธุรกิจจากต่างชาติ รวมถึงการพัฒนาด้านการศึกษา สาธารณสุข และการให้บริการขั้นพื้นฐานต่างๆ แก่ประชาชน อันเป็นหนึ่งในนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเมียนมาร์ โดย CAT (แคท) ร่วมมือกับ Local Operator ของเมียนมาร์ที่มีจุดแข็งด้านการเชื่อมโยงภายในประเทศบวกกับความเชี่ยวชาญของแคทในการนำทราฟฟิกออกสู่ต่างประเทศทั่วโลก โดยผ่านระบบโครงข่ายเคเบิลใต้น้ำทั้งหมด ๖ เส้นทาง ทำให้สามารถสนับสนุนความพร้อมอย่างรวดเร็วให้กับบริการโทรคมนาคมในเมียนมาร์ เพื่อให้ทันกับการเติบโตแบบก้าวกระโดด”
    “ทั้งนี้ แคทได้เข้าไปเชื่อมโครงข่ายระบบเคเบิลไทย-เมียนมาร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โครงข่ายสื่อสารจึงมีความพร้อมสำหรับการให้บริการ ซึ่งแคทได้เปิดให้บริการวงจรสื่อสาร Leased Line เชื่อมโยงระบบการสื่อสารให้กับลูกค้าที่เข้าไปขยายธุรกิจในเมียนมาร์ เช่น กลุ่มธนาคาร และ SMEs (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) ในลักษณะ One-Stop Shopping โดยสามารถใช้บริการของ CAT อย่างครบวงจรในการเชื่อมต่อไปยังทุกประเทศในกลุ่มอินโดจีนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลกได้สะดวก ล่าสุดการเข้าไปเปิด POP (Point of Presence) หรือจุดติดตั้งอุปกรณ์รองรับการให้บริการวงจรสื่อสารในเมืองย่างกุ้ง ทำให้การควบคุมคุณภาพบริการมีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น โดยสามารถบริหารจัดการทราฟฟิกผ่าน POP ได้โดยตรงจากชุมสายหลักของ CAT ที่บางรัก นอกจากนี้ยังมีลูกค้าโอเปอเรเตอร์รายใหญ่ที่ใช้บริการเกตเวย์ในการเชื่อมต่อกับเมียนมาร์ อาทิ เมียนมาร์โพสต์แอนด์เทเลคอม (MPT) และเอ็นทีที คอมมูนิเคชั่นส์” ดร.ดนันท์ กล่าว


    ดร.ดนันท์ เปิดเผยอีกว่า จากการเปิดให้บริการกับลูกค้าในเมียนมาร์มา ๓ ปี ปริมาณทราฟฟิกเพิ่มขึ้นค่อนข้างช้าเฉลี่ยร้อยละ ๑๐ ต่อปี เนื่องจากข้อจำกัดด้านการพัฒนาโครงข่าย ภายในประเทศของพม่าที่ยังไม่เพียงพอ ขณะที่ภาคธุรกิจมีความต้องการใช้แบนด์วิธสูงมากเพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูล จะเห็นได้ว่าขณะนี้เศรษฐกิจเมียนมาร์กำลังเติบโต โดยเฉพาะในเมืองย่างกุ้ง มีความต้องการใช้แบนด์วิธเป็นดีมานด์สูงมาก แต่การเติบโตของปริมาณทราฟฟิกค่อนข้างช้า ด้วยความไม่พร้อมด้านโครงข่ายภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการพัฒนา โดยเอกชนเริ่มเข้าไปขยายโครงข่ายไร้สาย 3G และ 4G ขณะที่แคทได้เข้าไปเริ่มเชื่อมโครงข่ายระบบเคเบิลแล้วตั้งแต่ ๓ ปีก่อน ปัจจุบันมีจุดเชื่อมต่อกับพม่าบริเวณชายแดนถึง ๓ เส้นทางโดยระบบเคเบิลภาคพื้นดิน ได้แก่ เส้นทางเมืองเมียวดี-แม่สอด จังหวัดตาก กับเส้นทางท่าขี้เหล็ก-แม่สาย จังหวัดเขียงราย และระบบเคเบิลใต้น้ำที่ เมืองพยาโปง (Pyapon) - จังหวัดสตูล อย่างไรก็ดี โครงข่ายทั้ง ๓ จุดของแคทสามารถขยายคาพาซิตี้ได้อย่างเพียงพอในการให้บริการครอบคลุมพื้นที่ การพัฒนาเศรษฐกิจของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง ๕-๑๐ ปีข้างหน้า


684 1342