29thMarch

29thMarch

29thMarch

 

July 16,2015

ร่วมกันแก้ปัญหาการค้ามนุษย์

    เป็นที่ทราบกันดีครับว่า ประเทศไทยหยิบยกปัญหาการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนและจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ โดยมี พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ (The Anti-Trafficking in Persons Act 2008) และกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๙) ที่ให้ความสำคัญ ๕ ด้าน คือ การป้องกัน การดำเนินคดี การคุ้มครองช่วยเหลือ การพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับเคลื่อน การพัฒนาและการบริหารข้อมูล


    แต่ปัญหาได้ลดน้อยถอยลงไม่....ดังนั้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศ และร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ในต่างประเทศ เพื่อหาทางออกและแก้ไขปัญหานี้ รวมทั้งเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ที่ห้องประชุมช้างน้อย เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี หน่วยงานกองต่อต้านการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) และมูลนิธิพิทักษ์สตรี (AAT) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งทีมสหวิชาชีพชายแดนไทย-ลาว ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อเป็นการร่วมประชุม ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูล ปัญหาอุปสรรค และแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ตามแนวพื้นที่ชายแดนที่มีพื้นที่ติดต่อกัน ระหว่าง จังหวัดอุบลราชธานีกับแขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และยังเป็นการขยายเครือข่ายการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนระหว่างทีม สหวิชาชีพทั้งสองประเทศ การจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ได้อย่างเข้มแข็ง     


    นางสุวรีย์ ใจหาญ ผู้อำนวยการกองต่อต้านการค้ามนุษย์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ปัญหาการค้ามนุษย์ระหว่างจังหวัดอุบลราชธานีและแขวงจำปาสัก จะเป็นลักษณะการเคลื่อนย้ายแรงงาน โดยปัญหาการค้ามนุษย์ ยังเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากหญิงและเด็ก นอกจากนั้นกลุ่มผู้ชายจะถูกบังคับใช้เกี่ยวกับแรงงานประมง และที่ผ่านมา จังหวัดอุบลราชธานีและแขวงจำปาสัก ได้ร่วมกันทำงานประสานงานความร่วมมือการทำงานอย่างต่อเนื่อง ในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนในทุกระดับ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ
    การร่วมมือร่วมใจกันในครั้งนี้ หวังว่าจะช่วยให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และหมดไปในที่สุด


 

สีรอย คันหลาย

นสพ. โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒๓๐๓ วันพฤหัสบดีที ๑๖- วันจันทร์ที่ ๒๐ เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘

 


697 1347