27thApril

27thApril

27thApril

 

November 06,2015

คลังโคราชเผยสภาวะศก.การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณหดตัว ชี้การขยายตัวเงินฝากสูงกว่าสินเชื่อ

นางสาวอรุณ สว่างสินอุดมชัย คลังจังหวัดนครราชสีมา

“คลังจังหวัดนครราชสีมา” เผยสภาวะเศรษฐกิจการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณหดตัว แต่รายได้ของเกษตรมีการขยายตัว ชี้สถาบันการเงินมีการขยายตัวของเงินฝากสูงกว่าสินเชื่อ เหตุประชาชนเก็บออมเงินมากขึ้นเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ

เมื่อเร็วๆ นี้ นางสาวอรุณ สว่างสินอุดมชัย คลังจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงสภาวะเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ช่วงเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนสิงหาคม บ่งชี้เศรษฐกิจมีสัญญาณขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยด้านอุปสงค์มีสัญญาณขยายตัว จากการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว และการใช้จ่ายภาครัฐที่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณหดตัว ด้านอุปทานมีสัญญาณชะลอตัว จากการผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการชะลอตัว ขณะที่การผลิต ภาคเกษตรกรรมฟื้นตัวจากเดือนก่อน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจจังหวัด พบว่า อัตราเงินเฟ้อยังคงติดลบต่อเนื่อง การจ้างงานลดลง

เศรษฐกิจด้านอุปทาน (การผลิต) พบว่า มีสัญญาณชะลอตัวจากเดือนก่อน สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ขยายตัวร้อยละ ๑.๗ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ ๒.๓ ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรมที่ชะลอตัวร้อยละ ๑.๖ เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้เพื่อลดต้นทุนการผลิต ขณะที่จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดและทุนจดทะเบียนอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ ๐.๓ และ ๓.๙ ตามลำดับ ภาคบริการชะลอตัวจากเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตภาคบริการขยายตัวร้อยละ ๕.๑ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ ๘.๓ ตาม จำนวนผู้ป่วยรวมและนักท่องเที่ยวชะลอตัวร้อยละ ๕.๓ และ ๑๔.๙ ตามลำดับ ประกอบกับจำนวนเที่ยวรถโดยสารที่เข้าสถานีขนส่งหดตัวร้อยละ ๘.๖ ขณะที่การค้าส่งค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๘ ตามการบริโภคภาคเอกชนที่ ปรับตัวดีขึ้น ภาคเกษตรกรรมฟื้นตัวจากเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตภาคเกษตรกรรมขยายตัว ร้อยละ ๓.๕ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ฟื้นตัวจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ ๔.๑ จากปริมาณผลผลิตด้านปศุสัตว์ที่สำคัญ ของจังหวัด ได้แก่ สุกร และ กระบือ ขยายตัวร้อยละ ๕.๔ และ ๗๔.๐ ตามลำดับ เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มปริมาณการผลิต ขณะที่พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และมันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ ๒.๕ และ ๔.๐ ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ปริมาณผลผลิตพืชออกสู่ตลาดน้อยลง สำหรับข้าวและอ้อยโรงงานไม่มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดในเดือนนี้

ในขณะที่เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (การใช้จ่าย) พบว่า มีสัญญาณขยายตัวจากเดือนก่อน สะท้อนจากดัชนีการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ ๖.๑ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ ๒.๔ จากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ขยายตัวร้อยละ ๕.๙ และ ๖.๘ ตามลำดับ เป็นผลจากยอดขายรถยนต์ซึ่งตกต่ำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ซึ่งจากยอดรถยนต์จดทะเบียนใหม่ที่เพิ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมจะเป็นสัญญาณที่ดีว่าตลาดรถยนต์จะกลับเข้าสู่กลไกของตลาดและจะฟื้นตัวได้อีกครั้ง ปริมาณการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนชะลอตัวอย่างต่อเนื่องร้อยละ ๒.๘ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนทำให้อากาศเย็นลง ประชาชนจึงใช้กระแสไฟน้อยลง ประกอบกับรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนโดยยังติดลบร้อยละ ๑๒.๗ เป็นสัญญาณที่ดีว่าประชาชนเริ่มมีการจับจ่ายใช้สอยอีกครั้งแต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปีก่อน ตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจของทั้งประเทศและเศรษฐกิจโลก การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณหดตัว โดยดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวร้อยละ ๐.๕ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ ๐.๕ ตามการอนุมัติสินเชื่อเพื่อการลงทุนหดตัวร้อยละ ๐.๖ เนื่องจากสถาบันการเงินระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพื่อควบคุมคุณภาพหนี้ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์หดตัวร้อยละ ๔.๔ และ พื้นที่อนุญาตก่อสร้างชะลอตัวร้อยละ ๑๙.๖ ซึ่งยังขยายตัวได้ดีท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การใช้จ่ายภาครัฐปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวร้อยละ ๔.๔ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ ๑๗.๓ ตามผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขยายตัวร้อยละ ๑๐.๐ และ ๓๔.๗ ตามลำดับ ประกอบกับผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำรัฐบาลปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนโดยหดตัวร้อยละ ๕.๘ ขณะที่ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนรัฐบาลหดตัวต่อเนื่องร้อยละ ๓๒.๘ร้อยละ ๒.๑ จากเดือนก่อนที่ติดลบร้อยละ ๑.๖ สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและค่ากระแสไฟฟ้าเป็นสำคัญ สำหรับด้านการจ้างงานในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ลดลงร้อยละ ๒.๖ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน เนื่องจากปัญหาการขาดสภาพคล่องหลังเศรษฐกิจและการส่งออกชะลอตัว เป็นผลให้การจ้างงานในจังหวัดลดลง

สำหรับทางด้านการคลัง ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ พบว่า ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวมในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ มีจำนวน ๒,๖๖๙.๒ ล้านบาท หดตัวร้อยละ ๑๓.๑ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ ๒๑.๘ โดยเป็นการเบิกด้านรายได้เกษตรกรในจังหวัด พบว่า รายได้เกษตรกรในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ขยายตัวร้อยละ ๑.๙ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ฟื้นตัวจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ ๗.๔ เป็นผลจากปริมาณผลผลิตภาคเกษตรกรรมในภาพรวมขยายตัว ร้อยละ ๓.๕ จากปริมาณผลผลิตสุกร และกระบือเป็นสำคัญ ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรในภาพรวมปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวร้อยละ ๑.๕ จากราคามันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โคและกระบือ

ด้านการเงิน พบว่า สภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินมีการขยายตัวของเงินฝากสูงกว่าสินเชื่อ โดยเงินฝากรวม ขยายตัวร้อยละ ๔.๑ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ ๒.๕ เป็นผลจากประชาชนเก็บออมเงินมากขึ้นเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ ขณะที่สินเชื่อรวมหดตัวร้อยละ ๐.๕ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ ๐.๗ เนื่องจากสถาบันการเงินระมัดระวังในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อควบคุมคุณภาพหนี้

ส่วนด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของจังหวัดในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ติดลบต่อเนื่องจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายประจำรัฐบาลจำนวน ๒,๑๑๖.๘ ล้านบาท หดตัวร้อยละ ๕.๘ และเป็นการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนรัฐบาลจำนวน ๕๕๒.๔ ล้านบาท หดตัวร้อยละ ๓๒.๘ สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ มีจำนวนทั้งสิ้น ๙๑๒.๗ ล้านบาท ทรงตัวร้อยละ ๐.๐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวจากเดือนก่อนที่ขยายตัว ร้อยละ ๔.๔ จากการจัดเก็บรายได้ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่นครราชสีมาหดตัวร้อยละ ๑.๘ ขณะที่การจัดเก็บรายได้ของ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครราชสีมา และสำนักงานธนารักษ์พื้นที่นครราชสีมาขยายตัวร้อยละ ๑๒.๗ และ ๔๓.๒ ตามลำดับ สำหรับดุลเงินงบประมาณในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘ ขาดดุลจำนวน ๒,๒๙๖.๒ ล้านบาท

นสพ.โคราชคนอีสาน  ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒๓๒๕ วันศุกร์ที่ ๖ -  วันอังคารที่ ๑๐  เดือนพฤศจิกายน  พุทธศักราช ๒๕๕๘


692 1349