25thApril

25thApril

25thApril

 

November 16,2017

เปิดผล ความปลอดภัยทางถนน ปี ๕๙ วัยรุ่นวัยทำงานครองแชมป์ตายสูงสุด

 

        แผนงานสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนระดับจังหวัด (สอจร.) ร่วมด้วยศูนย์วิชาการเพื่อ ความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) เปิดผลรายงานความปลอดภัยทางถนน ปี ๒๕๕๙/๒๐๑๖ ซึ่งประเทศไทยได้จัดทำขึ้นเป็น ครั้งที่ ๓พบว่า ปี ๒๕๕๙ มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ๒๒,๓๕๖ราย (เทียบกับปี ๒๕๕๙จำนวน ๑๙,๔๗๙ราย) จำนวน ๓ ใน ๔ ของผู้เสียชีวิตเป็นผู้ชาย อันดับ ๑ช่วงวัยที่เสียชีวิตสูงสุด คือ วัยรุ่นและวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง ๑๕-๒๙ปี 
        นายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือแห่งองค์การอนามัยโลกและโรงพยาบาลขอนแก่น กล่าวว่า สิ่งที่เรียนรู้ได้จากการทำรายงานฉบับนี้ คือ อุณหภูมิความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ไทยมีผู้เสีย ชีวิตจากการตายบนถนนเพิ่มขึ้น ทั้งที่ปี ๒๕๕๗ -๒๕๕๘ผู้เสียชีวิตลดลง ทำให้คาดได้ว่าสังคมสามารถสัมผัสได้ถึงความรุนแรง ของอุบัติเหตุบนถนนที่เกิดขึ้น เกิดอุบัติเหตุหมู่แบบรุนแรง เหล่านี้คือ เหตุการณ์ไม่ปกติ ถ้าเป็นเช่นนี้เรามีโอกาสขึ้นอันดับ ๑ของรายงานองค์การอนามัยโลก ปี ๒๕๕๙ที่จะประกาศในอีกปีหรือสองปีข้างหน้า ผลกระทบบนถนนยังมีการเจ็บพิการ การที่จังหวัดหรือพื้นที่ใดมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงมากๆ จะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า Killing Zone ได้ คือ เข้าไป อาศัยอยู่ หรือขับผ่าน มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าที่อื่น  
        ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก ยังกล่าวอีกว่า  ผลที่ปรากฏจะเป็นต้นทางการจัดการกับปัญหาที่ถูกจุดโดยต้อง อาศัยข้อกำหนดเชิงนโยบายจากรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ที่มีความเสี่ยงมากยิ่งต้องมีการจัดการที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม รายงานความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากองค์การอนามัยโลก ถึงการใช้ข้อมูลเปรียบเทียบอย่างละเอียดจากข้อมูล ๓ ฐาน ซึ่งผลที่เกิดขึ้นนี้จะถูกส่งต่อไปยังองค์การอนามัยโลกเพื่อจัดทำ รายงานความปลอดภัยทางถนนของโลกครั้งต่อไป 

 

กทม.ตายน้อยสุด

        ด้าน ดร.ปรีดา จาตุรพงศ์  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นักวิชาการผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ อธิบายว่า ส่วนหนึ่งของโอกาสการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนขึ้นอยู่กับจังหวัดที่อยู่อาศัย เพราะเมื่อเทียบอัตราส่วนผู้เสีย ชีวิตในสัดส่วนต่อประชากร ๑แสนคนแล้วพบว่า ๑๐อันดับที่เสียชีวิตน้อยที่สุด ได้แก่  กรุงเทพมหานคร๑๔.๓ ยะลา ๑๗.๒แม่ฮ่องสอน ๑๘.๒ สตูล ๑๘.๓ อำนาจเจริญ ๑๘.๔ ปัตตานี ๒๐.๑ ศรีสะเกษ๒๑.๘นราธิวาส ๒๒.๔สุโขทัย ๒๓.๐น่าน ๒๓.๖
ขณะที่ ๑๐อันดับที่เสียชีวิตมากที่สุดได้แก่ ระยอง ๗๒.๒ สระแก้ว ๖๙.๐ ชลบุรี ๕๗.๗  จันทบุรี ๕๗.๘ นครนายก ๕๖.๓ปราจีนบุรี ๕๕.๙สระบุรี ๕๔.๘ลพบุรี ๕๔.๗ประจวบคีรีขันธ์ ๕๔.๓และ เพชรบุรี ๕๓.๑
เมื่อเปรียบเทียบด้านจำนวนรถจดทะเบียน จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตต่ำที่สุด ๑๐อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ยะลา  สตูล  สุโขทัย  เชียงใหม่ น่าน ระนอง อำนาจเจริญ และพิจิตร   ส่วนสัดส่วนร้อยละของผู้เสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนน ๔๕%  เป็น ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ๓๙%  คนเดินเท้า ๕% และ คนขี่จักรยาน ๑%
จังหวัดที่มีอันดับ ลดลงเมื่อเทียบกับผลรายงานความปลอดภัยทางถนน ปี ๒๕๕๗ กับ ๒๕๕๙ตาม ๕ลำดับแรก ได้แก่ ตาก ชุมพร ปราจีนบุรี และนครสวรรค์  ส่วนตรงกันข้ามที่เพิ่มขึ้น คือ สระแก้ว ลพบุรี นครนายก อ่างทอง และสิงห์บุรี 
จะเห็นได้ว่าจังหวัดระยองจะมีอันดับผู้เสียชีวิตมากที่สุด และกรุงเทพมหานครมีผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด ซึ่งหากมองจากปัจจัย ภายนอก จังหวัดระยองกับกรุงเทพฯ มีพื้นที่และจำนวนประชากรต่างกันมาก แต่เปอร์เซ็นต์ผู้เสียชีวิตของจังหวัดระยองนั้นมาเป็นอันดับที่ ๑ ก็เพราะผลวิจัยดังกล่าวที่ ดร.ปรีดา จาตุรพงศ์ได้จัดทำนั้น เป็นการคิดจากสัดส่วนต่อประชากรจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ คนในจังหวัดนั้นๆ 

        โดยจังหวัดระยองมีประชากรอยู่ที่ประมาณ ๖ – ๗ แสนคน ส่วนประชากรในกรุงเทพฯ มีมากกว่า ๘ ล้านคน เมื่อนำมาคิดหาค่ากลางของสัดส่วนต่อประชากร ๑ แสนคนในอัตราการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิต ถึงแม้จังหวัดระยองจะมีขนาดเล็ก แต่เมื่อหารกับสัดส่วนประชากร ๑ แสนคน กลับมีค่าเสียชีวิตที่สูง

๕ แนวทางลดอุบัติเหตุ
ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์  ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน แนะทางรอดประเทศไทยต้องลงทุน กับอะไรบ้าง ต้องดูเป็นวาระตามเสาหลัก ๕ด้านที่องค์การสหประชาชาติกำหนดไว้ ตั้งแต่
        -ด้านการจัดการ ต้องมีหน่วยจัดการที่เข้มแข็ง มีสถาบันวิชาการด้านความปลอดภัยทางถนน มีงบประมาณสนับสนุนให้กลไกในพื้นที่ดำเนินการได้
        -การทำให้ถนนปลอดภัย ต้องมีหน่วยตรวจสอบมาตรฐานของถนน ตั้งงบประมาณด้านความปลอดภัย   ไม่ต่ำ กว่า  ๑๐%
        -ยานพาหนะปลอดภัย ต้องมีสถาบันตรวจสอบมาตรฐานยานยนต์ เช่นเดียวกับสถาบันของยุโรป มาเลเซีย ญี่ปุ่น เป็นต้น
        -ด้านผู้ใช้รถใช้ถนน  ต้องมีอุปกรณ์ตรวจจับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน เช่น เครื่องมือตรวจวัด เมา (แอลกอฮอล์) และการขับรถเร็ว มีระบบบังคับใช้แบบครบวงจร
        -ด้านการบังคับใช้กฎหมาย  ตรวจจับครอบคลุม ต่อเนื่อง ไม่เลือกปฏิบัติ มีบทลงโทษที่หนัก ทำให้คนกลัว

โคราชยังแชมป์
        จากข้อมูลจำนวนผู้เสียชีวิตจากอบุติเหตุบนท้องถนน แยกเป็นรายจังหวัด โดยรวบรวมจาก ๓ ฐานข้อมูลปี ๒๕๕๘ และ ๒๕๕๙ รวบรวมโดย นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้เชี่ยวชาญในคณะที่ปรึกษาขององค์การอนาลัยโลกด้านการป้องกันการบาดเจ็บ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นสถิติที่ยังไม่ผ่านการหาค่ากลาง พบว่าจำนวนอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิต ของจังหวัดนครราชสีมาเป็นอันดับที่ ๑ โดยในปี ๒๕๕๘ มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุอยู่ที่ ๙๔๔ คน และปี ๒๕๕๙ ตัวเลขอยู่ที่ ๑,๐๑๕ ตามมาด้วยจังหวัดชลบุรี และกรุงเทพมหานครตามลำดับ

โค

 

 

 

 

 

 

 

 

 


693 1344