20thApril

20thApril

20thApril

 

April 23,2018

สสว.ติวเข้มสถาบันการศึกษาอีสาน ก้าวสู่ที่ปรึกษาเอสเอ็มอีอย่างยั่งยืน

          สสว.ติวเข้ม สถาบันการศึกษา-หน่วยงานรัฐและเอกชนภาคอีสาน ก้าวสู่การเป็นที่ปรึกษา ธุรกิจเอสเอ็มอีได้อย่างยั่งยืน  “สุทธิกานต์” ย้ำชัด เน้นการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อสอดรับการแข่งขันในตลาดการค้าที่เป็นสากล ตั้งเป้า ๓ ปี ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ก้าวสู่ยุค ๔.๐ ทั้งหมด

         เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑ ที่ห้องประชุมชั้น ๒ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด นางสุทธิกานต์  มาสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและประสานเครือข่าย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการเร่งเครื่อง SMEs สู่ ๔.๐ Train the Coach ซึ่งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. กำหนดจัดการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการขึ้นในระดับภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีผู้แทนสถาบันการศึกษา, รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอี ในพื้นที่ ๒๐ จังหวัดภาคอีสานเข้าร่วมรับการฝึกอบรมรวมกว่า ๒๐๐ คน


            นางสุทธิกานต์  มาสำราญ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและประสานเครือข่าย สสว. กล่าวว่า กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยในปัจจุบัน ยังคงต้องได้รับการส่งเสริมเทคนิควิธีการ รวมไปถึงการร่วมกันกำหนดรูปแบบช่องทางทางบการตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสินค้าเอสเอ็มอีของไทยนั้นไม่แพ้ชาติใดในโลก เพียงแต่ขาดช่องการในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาดที่เป็นวงกว้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทีมที่ปรึกษา ที่วันนี้ สสว. มาเน้นหนักในกลุ่มที่ปรึกษา ทั้งจากสถาบันการศึกษา, หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่หลักในการพัฒนาและสนับสนุนธุรกิจในระดับท้องถิ่น ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด และเป็นไปตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า โดยนำนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ที่เน้นไปในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและการนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้ทั่วทั้งโลก และตลอดทั้ง ๒๔ ชม.
          “เราจึงต้องมาร่วมกันพัฒนาทีมที่ปรึกษา หรือที่เราจะเรียกว่าโค้ช เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจและด้านเทคโนโลยี โดยตั้งเป้าหมายว่าในช่วง ๓ ปี ต่อจากนี้ สสว.จะผลิตโค้ชทั่วทั้งประเทศมากกว่า ๒,๒๐๐ ราย เพื่อที่จะเป็นกลไกในการดำเนินงานด้านการพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้ได้ในภาพรวมทั่วทั้งประเทศ ทั้งยังคงมีการสร้างระบบฐานข้อมูลโค้ช ทั้งที่เป็นในส่วนของสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ และภาคเอกขน ที่เราเน้นไปที่หอการค้าและสภาอุตสาหกรรม ทั้งหมดจากนี้ไปจะกลายเป็นศูนย์กลางในเรื่องของการให้คำปรึกษาและจับคู่ช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีของแต่ละพื้นที่ได้โดยตรง ยกตัวอย่างเช่น วันนี้หากเราจะจองโรงแรม เราสามารถไปเลือกใช้บริการได้ผ่าน agoda ซึ่งนั่นก็คือแนวทางที่ สสว. ต้องทำคือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะมาเลือกโค้ช หรือทีมที่ปรึกษา ได้โวยตัวเองโดยที่ สสว.จะทำหน้าที่เป็นคนกลาง เป็นคนติวเข้มและจัดระบบของทีมที่ปรึกษาให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการแต่ละราย และแต่ละผลิตภัณฑ์”


          นางสุทธิกานต์ กล่าวต่ออีกว่า การจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติดังกล่าวนี้จะทำการแบ่งกลุ่มของโค้ชที่เข้าร่วมโครงการออกเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงธุรกิจทั่วไป ที่จะเน้นไปที่เรื่องของการช่วยแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและปูพื้นฐานเอสเอ็มอีสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ต่อมาคือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี นวัตกรรม หรือเทคนิคเฉพาะด้าน สุดท้ายคือกลุ่มผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อที่จะสร้างแรงบันดาลใจและแรงกระตุ้นให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยนั้นสามารถที่จะเปิดช่องทางทางการตลาดที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมเพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๒๔๙๘ วันเสาร์ที่  ๒๑  -  วันพุธที่  ๒๕  เดือนเมษายน  พุทธศักราช  ๒๕๖๑


698 1344