29thMarch

29thMarch

29thMarch

 

May 15,2021

ลงทุนอีสานไตรมาสแรกเหนื่อย เหตุโควิด ๑๙ พ่นพิษหนัก โคราช ๘ โครงการ ๙๔๗ ล.

บีโอไอสรุปภาวะส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรก ปี ๒๕๖๔ หลังเจอโควิด-๑๙ พ่นพิษหนักหน่วง ส่งผลให้การลงทุนฝืด มีเพียง ๑๖ โครงการ มูลค่าลงทุน ๒,๑๑๙ ล้านบาท อยู่ในพื้นที่โคราช ๖ โครงการ มูลค่า ๙๔๗ ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร

ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค ๒ (บีโอไอโคราช) เปิดเผยภาวะการส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๔ (เดือนมกราคม-มีนาคม ๒๕๖๔) ซึ่งภาพรวมทั้งประเทศ มีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรก ๔๕๒ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๑๐๐,๑๑๔ ล้านบาท มีการจ้างงาน ๓๐,๘๗๖ คน เมื่อเปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ จำนวนโครงการเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๔.๑๔ มูลค่าเงินลงทุนและการจ้างงานเพิ่มขึ้น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ๑๖ โครงการ และมีมูลค่าเงินลงทุน ๒,๑๑๙ ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนลดลง ในขณะที่ภาคอีสานตอนล่าง ๘ จังหวัด  (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี) ที่อยู่ในความรับผิดชอบของบีโอไอโคราช มีโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ๑๐ โครงการ มูลค่า ๑,๐๐๗ ล้านบาท ส่วนภาคอีสานตอนบน ๑๒ จังหวัดในความรับผิดชอบของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค ๓ (บีโอไอขอนแก่น) มี ๖ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๑,๑๑๒ ล้านบาท

ทั้งนี้ การอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในไตรมาสแรก ปี ๒๕๖๔ โครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ในพื้นที่ ๘ จังหวัดของภาคอีสานตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ ๒ มีจานวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวน ๑๐ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๑,๐๐๗ ล้านบาท เป็นโครงการขยายกิจการทั้ง ๑๐ โครงการ อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ๘ โครงการ จังหวัดอุบลราชธานี ๑ โครงการ และจังหวัดบุรีรัมย์ ๑ โครงการ

ส่วนโครงการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร ซึ่งเป็นกิจการผลิตแป้งแปรรูปและสิ่งปรุงแต่งอาหาร ๓ โครงการ, กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เป็นกิจการผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติ กิจการผลิตเครื่องพิมพ์ หน้ากว้าง ๒ โครงการ, กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจการการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ๑ โครงการ, กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน สาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม เป็นกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด ๓ โครงการ และกลุ่มอุตสาหกรรมแร่ โลหะ และวัสดุ เป็นกิจการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ ๑ โครงการ ซึ่งใน ๑๐ โครงการนี้ กระจุกตัวในจังหวัดนครราชสีมา คือมี ๘ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๘๐ ของพื้นที่อีสานตอนล่าง และคิดเป็นร้อยละ ๕๐ ของพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด รองลงมา คือ จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดละ ๑ โครงการ สำหรับเงินลงทุนในโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมในพื้นที่อีสานตอนล่าง ในไตรมาสแรก ปี ๒๕๖๔ จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนเงินลงทุนมากที่สุด มูลค่าเงินลงทุน ๙๔๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙๔ ของพื้นที่อีสานตอนล่าง และคิดเป็นร้อยละ ๔๕ ของพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด รองลงมา คือ จังหวัดบุรีรัมย์ เงินลงทุน ๕๙ ล้านบาท และจังหวัดอุบลราชธานี เงินลงทุน ๑ ล้านบาท

โดยโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการพิเศษ ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ มีโครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในจังหวัดนครราชสีมา ๒ โครงการ โครงการที่อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการส่งเสริม SMEs ในจังหวัดอุบลราชธานี ๑ โครงการ สถานประกอบการที่ตั้งในพื้นที่ ๒๐ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ จะได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ซึ่งมีโครงการที่ได้รับอนุมัติตามพื้นที่เป้าหมาย ในจังหวัดบุรีรัมย์ ๑ โครงการ

สำหรับการกระจายสัดส่วนผู้ถือหุ้นนั้น เป็นโครงการที่คนไทยถือหุ้นทั้งสิ้น ๖ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๖๐ ของจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน ๑๓๑ ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๑๓ ของเงินลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง ส่วนโครงการที่ต่างชาติถือหุ้นทั้งสิ้น มี ๒ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน ๑๗๐ ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๑๗ ของเงินลงทุน ในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีโครงการร่วมลงทุนไทยและต่างชาติ ๒ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๒๐ ของจำนวนโครงการ ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง และมีเงินลงทุน ๗๐๖ ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๗๐ ของ เงินลงทุนในพื้นที่อีสานตอนล่าง

สำหรับการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน ๑๒ จังหวัดในความรับผิดชอบของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค ๓ (บีโอไอขอนแก่น) ในเดือนมกราคม-มีนาคม ๒๕๖๔ เปรียบเทียบย้อนหลัง ๕ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ ถึง ๒๕๖๔ การลงทุนในปี ๒๕๖๔ จำนวนโครงการ ๖ โครงการและมูลค่าเงินลงทุน ๑,๑๑๒ ล้านบาทนั้น ลดลงจากปีก่อนๆ แต่เงินลงทุนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี ๒๕๖๒

โดยอุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุนมีโครงการที่ได้รับส่งเสริมมำกที่สุด ๕ โครงการ แยกเป็นกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ๒ โครงการ, กิจการผลิตไอน้ำจากก๊าซชีวภาพ/พลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ, กิจการบำบัดหรือกำจัดของเสียและกิจการผลิตไฟฟ้าจากขยะ มูลค่าเงินลงทุนรวม ๑,๐๘๖.๔ ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี ๒๕๖๓ จำนวนโครงการลดลงร้อยละ ๒๘.๕๗ แต่มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๖๖.๖๗ รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ จำนวน ๑ โครงการ มูลค่าเงินลงทุน ๒๕.๕ ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ๒๕๖๓ จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ -๗๕.๐๐และ -๙๘.๐๐

โดยทั้ง ๖ โครงการนี้ อยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ๒ โครงการ เงินลงทุน ๒๐๘.๕ ล้านบาท ได้แก่ กิจการผลิตไอน้ำจำกก๊าซชีวภาพ/ พลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ และกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคำ, จังหวัดอุดรธานี ๒ โครงการ เงินลงทุน ๒๙๖.๔๘ ล้านบาท ได้แก่ กิจการบำบัดหรือกำจัดของเสีย และกิจการผลิตแป้งแปรรูป, จังหวัดหนองคาย ๑ โครงการ เงินลงทุน ๖๐๐ ล้านบาท คือกิจการผลิตไฟฟ้าจากขยะ และจังหวัดมหาสารคาม ๑ โครงการ เงินลงทุน ๗ ล้านบาท คือกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา

ทั้งนี้ ภาพรวมการลงทุนไตรมาส ๑ ปี ๒๕๖๔ ภาวะเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวอย่ำงต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตัวเลขการลงทุนลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่อย่างไรก็ตามมีกิจการที่ยังคงได้รับความสนใจลงทุนต่อเนื่องคือกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา กิจการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ หรือกิจการผลิตไฟฟ้าจากขยะ เป็นต้น สำหรับแนวโน้มการลงทุนในไตรมาสที่ ๒ คาดว่าภาวะเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศไทยประสบกับการแพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด-๑๙ ระลอก ๓ ที่หนักหน่วงกว่า ๒ รอบที่ผ่านมา และยังไม่รู้ว่าจะคลี่คลายเมื่อไหร่ ส่งผลกระทบแก่ระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่ต้องหยุดหรือลดเวลาการเปิด-ปิดการให้บริการ นักลงทุนที่ชะลอการลงทุนไว้ก่อน หรือแม้กระทั่งกลุ่มผู้บริโภคที่มีการจับจ่ายใช้สอยได้น้อยลง


นสพ.โคราชคนอีสาน ปีที่ ๔๖ ฉบับที่ ๒๖๗๘ วันพุธที่ ๑๒ - วันอังคารที่ ๑๘ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๔


981 1597