29thMarch

29thMarch

29thMarch

 

May 10,2022

มาตรฐานคุณภาพอากาศในสถานประกอบการที่ดีเป็นอย่างไร?

 

            มาตรฐานคุณภาพอากาศในสถานประกอบการถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่สุดในโรงงานหรือสถานประกอบการต่างๆ  เนื่องจากว่าคุณภาพของอากาศสามารถส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ ก็ตาม ดังนั้น การตรวจวัดและวิเคราะห์ผลอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำอยู่เสมอ จึงเป็นหลักสำคัญที่ทุกสถานประกอบการต้องยึดเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานไปโดยปริยาย

            คำถามคือ แล้วมาตรฐานคุณภาพอากาศในสถานประกอบการที่ดีดูได้จากอะไร? ควรเป็นอย่างไร? วันนี้ บทความของเรามีคำตอบ 

 

 

ตามหลักสากลแล้ว คุณภาพของอากาศจะใช้ “ค่าดัชนีคุณภาพอากาศ” (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในที่นั้น ๆ ว่าอยู่ในระดับใด และมีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่? โดยมาตรฐานคุณภาพอากาศในสถานประกอบการทุกที่จะยึดค่าความเข้มข้นของสารพิษทางอากาศไว้ทั้งหมด 6 ชนิดด้วยกันเพื่อเช็กให้แน่ใจว่าได้สถานประกอบการนั้นมีอากาศตามมาตรฐานจริงหรือไม่ ซึ่งสารพิษทั้ง 6 ชนิดนั้น ได้แก่

  1. ฝุ่นละออง

ฝุ่นที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เป็นสารพิษที่สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ ส่งผลให้เกิดโรคปอดและโรคในระบบทางเดินหายใจ 

  1. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
    ฝุ่นที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้เนื่องจากเมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจเช่นเดียวกับฝุ่นที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
  2. ก๊าซโอโซน (O3)
    ก๊าซชนิดนี้ไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นฉุน ซึ่งก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศผิวโลกนี้ ถือเป็นสารพิษทางอากาศรุนแรงซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาระบบทางเดินหายใจและเยื่อบุต่างๆ ทั้งยังทำให้ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง
  3. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
    ก๊าซชนิดนี้ไม่มีสี กลิ่น และรส สามารถรวมตัวกับเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า ทำให้ก๊าซชนิดนี้สามารถแย่งจับกับเฮโมโกลบินในเลือด ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ร่างกายจะรู้สึกอ่อนเพลีย หัวใจทำงานหนักมากขึ้น
  4. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
    ก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น จริงๆ แล้วอาจพบทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ก็ได้ มีผลเสียต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืด หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
  5. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
    ก๊าซที่ไม่มีสี หรือมีสีเหลืองอ่อนๆ มีรสและกลิ่นที่ระดับความเข้มข้นสูง สามารถรวมตัวกับสารมลพิษชนิดอื่นๆ แล้วก่อตัวเป็นฝุ่นขนาดเล็กได้ มีผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้

ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทย ดัชนีคุณภาพอากาศที่ใช้ในการวัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในสถานประกอบการจะแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ  0 - 201 ขึ้นไป โดยใช้สีในการเปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ ดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 หมายความว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน และมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน

ที่ Health & Envitech เราให้บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร รวมถึงการตรวจวัดมาตรฐานคุณภาพอากาศในสถานประกอบการ ตั้งแต่การเก็บตัวอย่างแบบถูกต้องตามหลักวิชาการ มีวิธีการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่มีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ผลโดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐานสากล และพร้อมให้คำปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมโดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูงเพื่อให้มั่นใจว่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในสถานประกอบการของคุณอยู่ในระดับปกติทั่วไป ไม่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนใกล้เคียงและพนักงานที่ปฏิบัติงาน

 


983 1680