19thApril

19thApril

19thApril

 

May 30,2023

‘นิติวิทยาศาสตร์’จับมือ‘ซินโครตรอน’ ร่วมพัฒนานวัตกรรมตรวจพิสูจน์หลักฐาน

 

วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารสิริธรวิชโชทัย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จ.นครราชสีมา มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัย และการพัฒนาบุคลากรทางนิติวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม กับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

รศ.ดร.สาโรช รุจิรวรรธน์ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) มีพันธกิจในการวิจัย ให้บริการ ส่งเสริมและถ่ายทอดการเรียนรู้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและการใช้ประโยชน์ นําไปสู่การ ยกระดับและพัฒนางานวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้วยเหตุนี้ สถาบันฯ จึงให้ความสําคัญต่อการสร้างความร่วมมือทางวิชาการมาโดยตลอด

"ตามที่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม มีเจตนารมณ์ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับหลักการทางเทคนิคที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และความรู้ในงานนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างทักษะใหม่ๆ ในการปฏิบัติกงานระหว่างบุคลากรของทั้งสองหน่วยงาน และสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการตรวจพิสูจน์ เพื่อสนับสนุนการนําเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนไปใช้ประโยชน์ในงานนิติวิทยาศาสตร์และการอํานวยความยุติธรรม และสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนบุคลากร การตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์โดยนําเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนและเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและมาตรฐาน สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ ทั้งยัง สนับสนุนการดําเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามที่หน่วยงานเห็นสมควร จึงนํามาสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการครั้งนี้" ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าว และว่า

ในการนี้ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ขอขอบคุณ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ที่เล็งเห็นความสําคัญของการพัฒนาศักยภาพทางด้านนิติวิทยาศาสตร์โดยใช้องค์ความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน สู่การต่อยอด นําไปใช้ประโยชน์และพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่ความเป็นเลิศในการให้บริการทางนิตินิวิทยศาสตร์ เพื่อให้เกิดสัมฤทธิผลในอนาคตต่อไป

ทางด้าน นพ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ ผู้อํานวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมที่มีบทบาท ภารกิจในทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นการตรวจพิสูจน์หลักฐานด้านวิทยาศาสตร์ และการแพทย์เพื่อประกอบการพิจารณาคดี รวมถึงมีนโยบายผลักดันการยกระดับกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ตามแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม ขับเคลื่อนโครงการจัดทําฐานข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล ยกระดับ มาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์สู่สากลด้วยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติด้านวิชาการ งานวิจัยและนวัตกรรม พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้าน นิติวิทยาศาสตร์สู่ประชาชน

"ช่วงเวลาที่ผ่านมา สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนางาน นิติวิทยาศาสตร์ในทุกมิติ โดยมีเป้าหมายสําคัญคือการอํานวยความยุติธรรมให้กับประชาชนด้วยกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ผ่านการรับรองระบบมาตรฐานสากล อาทิ มาตรฐานการให้บริการ ISO 9001:2015, มาตรฐานการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO 17025-2017, มาตรฐานระบบงานหน่วยตรวจ ISO 17020.2012 และมาตรฐานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อประโยชน์สูงสุดในกระบวนการยุติธรรม"

นพ.ไตรยฤทธิ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม นําไปสู่การค้นคว้าและพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ให้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่มีความเที่ยงตรง แม่นยํา ทันต่ออาชญากรรมรูปแบบใหม่ สามารถ นําไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางคดีที่มีความสลับซับซ้อนได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ภายใต้หลักการ “ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ที่นิติวิทยาศาสตร์ตรวจไม่ได้” สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จึงได้พัฒนาวิธีการตรวจพิสูจน์ รวมถึงจัดหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อขยายการให้บริการตรวจพิสูจน์ให้ครอบคลุมความต้องการของประชาชนและตอบสนองต่อความท้าทายในกระบวนการยุติธรรม และมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านนิติวิทยาศาสตร์ การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานให้มีองค์ความรู้ ทักษะ และความพร้อมในการ ปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน มีความสามารถในทางวิชาการและการใช้งานเครื่องมือและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างถูกต้อง เป็นมิติที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้ให้ความสําคัญ เพื่อเป้าหมายในการอํานวยความยุติธรรมให้ประชาชน การนําวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ เพื่อลดข้อจํากัดการตรวจพิสูจน์ จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความร่วมมือยังหน่วยงาน ที่มีความพร้อมทั้งในด้านระบบงาน เครื่องมือและเทคโนโลยี รวมถึงมีบุคลากรชั้นนํา ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันออกแบบและพัฒนา วิธีการทํางานและการตรวจพิสูจน์ใหม่ เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรทรัพยากรและความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ

"แสงซินโครตรอน เป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคต ที่สามารถประยุกต์ใช้ ในงานวิชาการ วิจัยและการบริการสหสาขาทั้งในด้านวัสดุศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ รวมถึงนิติวิทยาศาสตร์ จึงเป็นโอกาสอันดีที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์จะได้นําเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนมาใช้ประโยชน์ในงานด้านการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความสําคัญอย่างยิ่งในขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม" ผู้อํานวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าว

ผู้อํานวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวท้ายสุดว่า ในการนี้ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ตระหนักถึงความสําคัญ ในการประสานความร่วมมือทางวิชาการ การวิจัยและการพัฒนาบุคลากรทางนิติวิทยาศาสตร์ให้มีองค์ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เพื่อการประยุกต์ใช้ในการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อความเป็นเลิศ ในการให้บริการทางนิติวิทยาศาสตร์และการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์ให้มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ สามารถนําไปใช้ในการยืนยันข้อเท็จจริง การอํานวยความยุติธรรมและคุ้มครองสังคมให้แก่ ประชาชนอย่างยั่งยืน  ในนามสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการ ให้ความร่วมมือด้านวิชาการนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทําบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือทางวิชาการ ครั้งนี้ จะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนางานด้านนิติ วิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติต่อไป

อนึ่ง ในการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้งสองหน่วยงานมีเจตนารมณ์ในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการและแลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับหลักการทางเทคนิคที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และความรู้ในงานนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างทักษะใหม่ๆ ในการปฏิบัติงานระหว่างบุคลากรของทั้งสองหน่วยงาน และสร้างความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการตรวจพิสูจน์ เพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีแสงซินโครตรอนไปใช้ประโยชน์ในงานนิติวิทยาศาสตร์และการอำนวยความยุติธรรม ตามหลักวิชาการและมาตรฐาน สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ ทั้งยังสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามที่หน่วยงานเห็นสมควร


697 1347