August 30,2023
“นิด้า”ยืนยันยังใช้สิทธิในที่ดินสีคิ้ว สอน ป.โท-เอกและพัฒนาผู้นํา เพื่อประโยชน์ชุมชนและสังคมยั่งยืน
“นิด้า” ยันยังคงใช้สิทธิในที่ดินสีคิ้ว สอนปริญญาโท - เอก และพัฒนาผู้นําในภาครัฐและเอกชน เพื่อประโยชน์ ของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2566 ส่วนสื่อสารองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้เผยแพร่เอกสารแถลงข่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้
รศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยข้อเท็จจริงว่า กระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติให้นิด้าใช้ที่ดิน ณ บ้านคลองตะแบก หมู่ที่ 5 ตําบลลาดบัวขาว อําเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เปิดทําการเรียนการสอนระดับปริญญาโท-เอก และฝึกอบรมผู้นํา ผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 มีการก่อสร้างอาคารเรียน 2 หลัง จากการระดมเงินทุนโดยหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร (สมเด็จพระญาณวโรดม) งบประมาณแผ่นดิน และเงินรายได้ของนิด้า ซึ่งเปิดทําการสอนสาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และสาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 ต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ.2563 อีกทั้งได้เปิดอบรมหลักสูตรสําหรับผู้นําผู้บริหารท้องถิ่นตามวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่มาโดยตลอด
รศ.ดร.อัศวิน กล่าวว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 ทางผู้บริหารนิด้ามีนโยบายอํานวยความสะดวกแก่ผู้เรียนจึงย้าย ไปเปิดการเรียนการสอนที่โรงเรียนสุรนารีวิทยา 2 อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และในขณะเดียวกันได้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างรุนแรง นิด้าได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่สีคิ้วและบริเวณใกล้เคียงจึงอนุญาตให้ใช้พื้นที่ศูนย์การศึกษาสีคิ้วเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง จนถึงปี พ.ศ.2565 ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นิด้าไม่ได้ละทิ้งศูนย์การศึกษาสีคิ้ว โดยจัดสรรงบประมาณจ้างบุคลากรและดูแลบํารุงรักษาพื้นที่มาโดยตลอด
“นิด้ายังคงใช้พื้นที่ศูนย์การศึกษาสีคิ้วในการจัดการเรียนการสอนเช่นเดิม โดยมีแผนพัฒนาการศึกษาการ พัฒนาผู้นําและชุมชนสีคิ้วอย่างยั่งยืน เช่น เปิดหลักสูตรปริญญาโทในสาขาการจัดการการท่องเที่ยว การพัฒนาสังคม และการจัดการสิ่งแวดล้อม และโครงการอบรมต่างๆ เช่น โครงการอบรมชาวบ้านในการปลูกหญ้าแฝกเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โครงการอบรมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน สร้างรายได้อย่างยั่งยืนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างระหว่างโลกธุรกิจกับประโยชน์ทางสังคม โดยร่วมมือกับศูนย์ยูนุส (YUNUS Center) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งมีโครงการการอบรมการทําเกษตรกรรมแบบ smart farming โดยร่วมมือกับภาคเอกชน และโครงการอบรมเพิ่มศักยภาพการดูแลตนเองและครอบครัวของผู้สูงอายุเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น” รศ.ดร.อัศวิน กล่าว
69 1,655