May 16,2019
มหกรรมปศุสัตว์นครชัยบุรินทร์ โค-กระบือถ้วยพระราชทาน
“มหกรรมปศุสัตว์นครชัยบุรินทร์” งานรวมของดีด้านปศุสัตว์จากภาคอีสาน ชมประกวดโค กระบือ ชิงถ้วยพระราชทาน พร้อมชิงเงินรางวัลรวมกว่า ๑๙๑,๐๐๐ บาท ระหว่างวันที่ ๑๗–๑๙ พฤษภาคมนี้ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาโคนม อ.ปากช่อง
เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา นายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา ผู้สื่อข่าว ประชาชน และเกษตรกรที่สนใจ ร่วมงานแถลงข่าวจัดงาน “มหกรรมปศุสัตว์นครชัยบุรินทร์” ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาโคนม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
นายจรัสชัย โชคเรืองสกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า “ในปี ๒๕๖๑ กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ เป็นแหล่งปศุสัตว์ของประเทศ มีการเลี้ยงโคเนื้อมากที่สุดคือ ๘๗๗,๕๔๐ ตัว คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๑๒ ของประเทศ โคนม ๑๓๒,๑๓๕ ตัว คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๑๙๕ ของประเทศ และกระบือ ๒๖๖,๖๘๗ ตัว คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๕๘ ของประเทศ นอกจากนี้ยังมีโรงงานและอุตสาหกรรมด้านปศุสัตว์ของเอกชนในพื้นที่อีกมากมาย สร้างอาชีพและรายได้ให้กลุ่มจังหวัดจํานวนมาก การจัดงานครั้งนี้จะเป็นการรวมของดีด้านปศุสัตว์ของกลุ่มจังหวัดและจากทั่วประเทศมาจัดแสดง ผู้เข้าชมงานจะได้ความรู้ด้านปศุสัตว์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นทางเลือกหนึ่งสําหรับการประกอบ อาชีพที่มีความมั่นคงและยั่งยืน และส่งเสริมให้จังหวัดนครราชสีมาและกลุ่มจังหวัดฯ เป็น HUB ด้านปศุสัตว์”
นายจรัสชัย เปิดเผยอีกว่า “กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๑ (นครชัยบุรินทร์) ซึ่งประกอบด้วย นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์ ได้มอบหมายให้สํานักงานปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมาจัดงานมหกรรมปศุสัตว์นครชัยบุรินทร์ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๗–๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาโคนม ถ.เลี่ยงเมือง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยกิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการของส่วนราชการ ห้างร้าน เอกซน แสดงผลงานนวัตกรรมด้านการพัฒนาปศุสัตว์ การแสดงพันธุ์สัตว์ การประกวดโค กระบือ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี จํานวน ๖ ถ้วย และถ้วยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการฝึกอบรม สัมมนาหลักสูตรด้านการพัฒนาปศุสัตว์ การจําหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านปศุสัตว์ของเกษตรกรและกลุ่ม เกษตรกร การจําหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตร-ปศุสัตว์ สินค้า OTOP การประมูลพันธุ์สัตว์ และ การแสดงต่างๆ ตลอดงาน ตามรายละเอียดดังนี้ ๑.การจัดนิทรรศการ จากส่วนราชการ กลุ่มเกษตร และเกษตร และเอกชน ๒.การจัดแสดงพันธุ์สัตว์ เช่น โคพันธุ์อเมริกันบรามันห์, โคพันธุ์กําแพงแสน, โคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน และโคลูกผสมวากิว (โคราชวากิว) เป็นต้น
๓.การประกวดโค กระบือ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และถ้วยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา รวม ๒๒ ประเภท ๑๒๙ รุ่น รวมเงินรางวัล ๑๙๑,๐๐๐ บาท ของรางวัลประกอบด้วย ถ้วยรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยน ๔ ถ้วย แบ่งเป็นถ้วยพระราชทาน ๖ ถ้วย และถ้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ๒ ถ้วย ถ้วยรอง แกรนด์แชมป์ ๖ ถ้วย สายสะพาย ๘ สาย เงินรางวัล ๘๕ รุ่น โล่ ๙๕ ชิ้น ประกาศเกียรติบัตร รางวัลชมเชย กระบือ ๒๒ ใบ และธงแชมป์คลาส บราห์มันพันธุ์แท้-กําแพงแสน ๘๒ ผืน
๔.การฝึกอบรม/สัมมนา เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ กระบือ แพะ-แกะ และสุกร การอบรมอาหารและพืชอาหารสัตว์ การแปรรูปและการตลาด การเสวนาด้านการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ๕.การจัดประมูลพันธุ์สัตว์ จำหน่ายสินค้าปศุสัตว์-เกษตร ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ๖.การจัดคลินิกปศุสัตว์ ให้คำแนะนำปรึกษาการเลี้ยงสัตว์ให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ๗.การแสดงบนเวที เช่นการแสดงวงดนตรีทั้งคืนในวันที่ ๑๗ และ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ คืนละ ๒ วง
นายพศวีร์ สมใจ ปศุสัตว์จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า “กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ๑ (นครชัยบุรินทร์) เป็นพื้นที่ที่มีภูมิประเทศที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปศุสัตว์เป็นอย่างยิ่ง วิถีชีวิตของเกษตรกรยึดการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมมาอย่างยาวนาน ตามสถิติของกรมปศุสัตว์ ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ๔๕๑,๕๕๒ ราย เมื่อเปรียบเทียบกับอีก ๑๗ กลุ่มจังหวัดนับว่ามากเป็นอันดับ ๑ ของประเทศ (ร้อยละ ๑๕.๓๘) มีจํานวนการเลี้ยงโคเนื้อ ๔๗๗,๕๙๐ ตัว มากเป็นอันดับ ๑ (ร้อยละ ๑๖.๑๒) โคนม ๑๓๒,๑๓๕ ตัว (ร้อยละ ๒๑.๑๙) กระบือ ๒๖๖,๖๙๘ ตัว (ร้อยละ ๒๒.๕๔) นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสุกรและไก่เนื้อจํานวนมาก ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งที่มีการเลี้ยงปศุสัตว์มากเป็นลําดับต้นๆ ของประเทศ สํานักงานสภา พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กําหนดแนวทางการพัฒนาตามแผนบูรณาการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นพื้นที่ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อคุณภาพสูง ในขณะเดียวกันประเทศ ไทยมีการนําเข้าเนื้อโคคุณภาพสูงรวมทั้งผลิตภัณฑ์สัตว์อื่นๆ จากต่างประเทศ ปีละประมาณ ๔,๐๐๐ ล้านบาท ดังนั้น หากนําศักยภาพอันโดดเด่นด้านการผลิตปศุสัตว์และโอกาสในการเปิดตลาดระดับสูงดังกล่าวข้างต้น จึงเหมาะสมอย่างยิ่งในการรณรงค์ส่งเสริมสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรเห็นเทคโนโลยี นวัตกรรม และความสําคัญของการเลี้ยงปศุสัตว์และหันมาสนใจในการเลี้ยงเป็นอาชีพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการนําศักยภาพของพื้นที่มาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและเพิ่มมูลค่าปศุสัตว์ สามารถสร้างรายได้และแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร นําไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตามนโยบายของรัฐบาลได้”
นายพศวีร์ สมใจ กล่าวอีกว่า “สำหรับวัตถุ ประสงค์ของงานนี้เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานด้านปศุสัตว์ของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ความรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ กระตุ้นสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรเห็นความสําคัญและหันมาพัฒนาทางเลือกอาชีพเลี้ยงสัตว์มากขึ้น สนับสนุนนโยบายปรับเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมและความมั่นคงทางอาหาร นอกจากยังเป็นการสร้างเสริมการรวมกลุ่ม เป็นเวทีในการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการพัฒนาปศุสัตว์ และเพื่อส่งเสริมการตลาด การเจรจาธุรกิจ และซื้อขายสินค้าปศุสัตว์ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค และ ๕.เพื่อสร้างรายได้และโอกาสในการแข่งขันให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในเขตกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์
งานในครั้งนี้จะจัดขึ้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาโคนม (ถนนเลี่ยงเมือง) ตําบลปากช่อง อําเภอปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒”
ปีที่ ๔๔ ฉบับที่ ๒๕๗๒ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ - วันจันทร์ที่ ๒๐ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒
897 1,558