20thApril

20thApril

20thApril

 

September 23,2022

จับได้คารถที่บุรีรัมย์ เนื้อหมูลักลอบนำเข้า 4.9 ตัน มูลค่ากว่า 1 ล้าน

วันที่  22 กันยายน 2565  ตามที่นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร ได้มีนโยบายมุ่งเน้นการป้องกันและปราบปราม การลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรและชิ้นส่วนสุกร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และปกป้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในประเทศ จึงได้มอบหมายให้ นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ รองอธิบดีกรมศุลกากร นายพร้อมชาย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 นายกรณ์ชัย ปัญญาวัฒนพงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมทางศุลกากรพื้นที่ภาคที่ 2 และนายชนินทร์ ศุภรินทร์ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรในพื้นที่ตรวจสอบและเข้มงวดปราบปรามการลักลอบการนำเข้าอย่างต่อเนื่อง

กระทั่งในวันที่ 22 กันยายน 2565 ฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 นำโดยนายเรวัตน์ บางพา หัวหน้าฝ่ายสืบสวนและปราบปราม ร่วมกับหน่วยสืบสวน ปราบปรามประจำพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝปป.2 สปป.1 ได้ทำการลงพื้นที่สืบสวนติดตามการลักลอบนำเข้าและจำหน่ายเนื้อสุกรลักลอบในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง และได้ทำการวางแผนตรวจค้นรถยนต์กระบะบรรทุกเสริมคอกเป้าหมาย ยี่ห้ออีซูซุ สีขาว ทะเบียน ผก 2761 ร้อยเอ็ด บริเวณตำบลพรสำราญ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการตรวจค้นพบเนื้อสุกรแช่แข็ง กำเนิดต่างประเทศ ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร จำนวนรวม 4,900 กิโลกรัม รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท จากการสอบสวนคนขับรถยนต์เบื้องต้นให้การว่า เนื้อสุกรแช่แข็งดังกล่าวถูกนำเข้ามาตามแนวชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านนอกพื้นที่ภาคอีสาน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ฯ อยู่ระหว่างการสืบสวนในทางลับ เพื่อขยายผลการจับกุม และนำตัวผู้กระทำผิดที่เกี่ยวข้องมาลงโทษเพิ่มเติมต่อไป

โดยการช่วยซ่อนเร้น จำหน่าย ซื้อ เนื้อสุกรลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศนั้น เป็นความผิดตามมาตรา 246 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 ประกอบ พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ ฯ จึงได้ทำการยึดของกลางทั้งหมด พร้อมทั้งควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งสำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

ทั้งนี้ เนื้อสุกรจากต่างประเทศนั้นประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการนำเข้า เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ASF และหลายประเทศยังมีการใช้สารเร่งเนื้อแดงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค รวมไปถึงเป็นการปกป้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรภายในประเทศอีกด้วย โดยกรมศุลกากรยังคงคุมเข้มนโยบายป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรอย่างเข้มงวดและต่อเนื่องต่อไ


987 1390